Thursday, March 22, 2007

EQ กับการใช้ iPod


สวัสดีครับ กลับมาอีกแล้วครับ กับบทความของผม PIKMY ไม่ทราบว่าพี่ ๆ เพื่อน ๆ มีความเห็นเป็นอย่างไรบ้างครับ หากชอบไม่ชอบตรงใหนหรืออยากให้เขียนเรื่องใหนหรืออยากรู้เรื่องใหนสามารถแนะนำติชมเข้ามาได้นะครับ ยินดีรับทราบข้อผิดพลาดและพร้อมปรับปรุงครับ

OK ครับ วันนี้เรามาว่ากันต่อเรื่องของการจัดการ EQ หรือชื่อเต็ม ๆ คือ Equalizer กันครรับ มีลูกค้าอยู๋หลายท่านครับ ถามเรื่องนี้มากันมากครับว่าน้องพี่จะปรับ EQ สำหรับ iPod ตรงใหนหรืออย่างไรดีครับ อันนี้ผมก้ตอบไปทันควันเลยครับว่า "แล้วแต่พี่ครับ" ลูกค้าฟังแล้วก็คงนึกในใจว่า "อะไรฟะถามแล้วยังมีการมาบอกว่าแล้วแต่พี่อีก กวนนี่หว่า" จริง ๆ ก็กวน เอ้ย ไม่ได้กวนครับ ผมหมายความว่าอย่างนั้นจริง ๆ ครับ เมื่อก่อนตอนผมทำงานขายเครื่องเสียงก็เหมือนกันครับ เจอคำถามแนวนี้ค่อนข้างบ่อยครับ แต่ส่วนมากมักจะเจอกับมือใหม่ครับ คนที่เล่นมานาน ๆ แล้วมักไม่ถามกัน แต่ถ้าให้ผมตอบก็คงคำตอบเดิมครับ ว่า"แล้วแต่พี่ล่ะครับ" เพราะคนเรานั้นความชอมไม่เหมือนกัน ตอนทำงานแรก ๆ ผมทำตามตำราเป๊ะครับ เลยมักมีคนเห็นผมยืนเถียงกับลูกค้าประจำครับ (แต่เดี๋ยวนี้น้อยลงแล้วครับ ถ้าหากลูกค้าคนนั้นไม่หลงป่าหิมพาน มาจริงๆ ก็จะ yes no ok thank you ไปตามแต่ความชอบของลูกค้าครับ)

หากจะให้อธิบายนะครับ ว่าทำไมเราถึงต้องใช้ EQ และใช่แค่ใหนนั้นครับ ก็ต้องขออธิบายออกมากันยาวเลยนะครับ ตั้งแต่การบันทึกเสียงมาเลยครับ

เริ่มแรกนั้นครับ ก็ต้องเริ่มที่การเล่นและบันทึกเสียงเลยครับ นักดนตรีเล่นไปตามอารมณ์ของดนตรี แต่คนบันทึกนั้นมีหน้าที่ทำการบันทึกออกมาให้เหมือนที่สุดสำหรับการบันทึกที่ต้องการความเหมือนจริง ต้องการสื่อถึงอารมณ์ของคนเล่นดนตรีให้มากที่สุด แต่ก็มีเพลงบางประเภทที่ในขั้นตอนการบันทึกนั้นเจตนาที่จะทำการดัดแปลงเสียงต่าง ๆ ภาพในเพลงให้มีความไพเราะไปตามแต่ style เพลง อันนี้เแล้วแต่ style เพลงครับ แต่หากสังเกตุดี ๆ แล้วนั้น อุปกาณ์ที่ Sound Engineer ใช้มาทำการ monitor นั้นมักจะมีความเป็นกลางสูงเรียกว่า เล่นไปหรือบันทึกมาอย่างไรก็ต้องฟังออกมาอย่างนั้น เหมือนไว้ก่อนเป็นใช้ได้ เพราะจะได้เป็นการอ้างอิง เพราะหากจะยึดว่าเสียงหวาน หรือทุ้ม หรืออะไร มันจะบอกยากครับ ว่าต้องการแค่ใหน ทำให้เรานั้นสามารถอ้างอิงได้ครับ ว่าอะไรถูกหรือผิดเพี้ยน


ในระหว่างขั้นตอนของการทำการทำแผ่นออกมานั้นก็ต้องออกมาเหมือนกันกับที่เราทำการบันทึกมา แต่ในขั้นตอนของการฟังนั้น โดยในอุดมคติแล้วนั้นต้องการให้เหมือนที่สุดครับ เหมือนกับมีนักร้องนักดนตรีมียืนร้องหรือเล่นดนตรีให้เราฟังอยู่ข้างหน้าเรา อย่างไงอย่างงั้นเลย แต่คราวนี้ก็เป็นปัญหาแล้วสิครับ ก็ห้องฟังของเราหรือชุดเครื่องเสียงของเรานั้นไม่เหมือน ทั้งเสียง วัสดุ การจัดวางต่าง ๆ ทำให้เกิดความผิดเพี้ยนกับต้นฉบับ นักฟังบางคนที่มีประสบการณ์ในการฟังดนตรีสูง หรือชอบฟังเสียงดีตรีจริง ๆ ก็เกิดความต้องการให้เกิดความเหมือนจริง จึงได้ทำการขวนขวายหากเครื่องเสียงที่ดี ให้ความเหมือนจริง ทำห้องให้เป็น monitor ทากที่สุด แต่นั่นก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่แพงมาก ๆ (หลักแสนไปจนถึงล้านก็มีให้เห็นเป็นปกติ)


อันนั้นสำหรับคนมีตังครับ แต่หากเราไม่สามารถทำห้องได้ หรือสภาพไม่เอื่ออำนวย หรือปรับสุด ๆ แล้วลำโพง หรือชุดมันได้แค่นี้ ไม่รู้จะทำอย่างไรดี เสียงโน้น เสียงนี้มันยังขาดไป คราวนี้ล่ะครับ EQ ของเราก็เป็นพระเอกขึ้นมาทันทีเลยครับ เพราะเค้าสามารถทำการเพิ่มและลดความถี่เสียงทีละย่านไปตามความต้องการครับ ดูเหมือนสะดวกครับ แต่ปรับยากมาก ๆ ครับ จะทำกันจริง ๆ ต้องมีประสบการณ์สูง ๆ หรือไม่ก็ต้องทีเครื่องในการช่วยวัดเสียงเป็นเรื่องเป็นราวเพราะเป็นการยากครับ หากหูเราจะจับความแตกต่าง เป็นย่าน ๆ ไป แต่นักดนตรีเก่ง ๆ เค้าทำได้ครับ แต่เราท่าจะยากครับ (ลืมบอกไปครับ เสียงต่าง ๆ นั้นเค้ายึดเอาจากจุดนั้งฟังครับ หรือจุดที่ต้องการจะฟัง)

ติ๊ต่าง ครับหากเราจับได้แล้วว่าอุปกรณ์ที่เราฟัง ไม่ว่าจะเป็นลำโพงหรือหูฟังก็ตามนั้นขาดย่าน ๆ ใหนไป เราค่อยมาปรับ EQ ให้ช่วยลดหรือเติมเต็มเอาย่านนั้น ๆ เอาครับ

เป็นไงครับ ดูยุ่งยากดีมั๊ยครับ กับกาารปรับ EQ อย่างถูกต้องเนี่ย แต่ที่ผมกำลังจะกล่าวถึงครับ คือการปรับให้เหมาะกับตัวเองครับ สำหรับคนที่ต้องการความเหมือนจริงนั้น เราก็ต้องหาก system (ชุดเครื่องเสียง) ที่มีความเป็น monitor ให้มากที่สุด แล้วไม่ปรับอะไรเลย ให้เค้าเป็น Flat ไปเลยครับ อันนี้ไม่ว่านักดนตรีบันทึกอะไรมาก็จะออกมาเหมือนจริง ตลอดครับ เพราะไม่ทีความเพี่ยนอะไรเลยระหว่างทาง (แต่อุปกรณ์ต้องเที่ยงตรงนะครับ)

แต่อีกแบบหนึ่งคือการปรับแบบที่ผมบอกไปครับ "แล้วแต่พี่ครับ" ตามแต่อารมณ์ของคนฟังเป็นหลักครับ เช่นหลาย ๆ คนคอบฟังเพลงที่บรรเลงสดประเภท Acoustic ก็สามารถไปปรับได้เลยครับเจ้า EQ นั้นจะทำการยกย่านความพี่เสียงกลางคือนไปทางสูงและย่านหัวเบส ให้สูงขึ้นทำจะให้เราได้ยินเสียงเครื่องดีตรีที่เป็นแบบ Acoustic ชัดขึ้น แต่แนะนำให้เลือกปรับครับ ว่าจะปรับ ณ ตรงใหนของ system จะตรงโปรแกรม ตรงภาคขยาย ก็ว่ากันไปครับ เลือกเอาสักที่ครับ เพราะหากเรามาปรับซ้ำซ้อนจะไม่ดีครับ จะควบคุมเสียงยากครับ หรือจะทำการปรับนั้นลองเลือกดูครับ ว่าใน system นั้นณจุดใหน EQ มีคุณภาพมากที่สุดครับให้ไปปรับตรงนั้น แล้วตรงใหนที่รองลงมาให้เค้าเป็น Flat ซะจะได้ไม่สร้างความเพี้ยนออกมาแทนที่จะปปรับให้มันดี


แต่สำหรับคนที่ใช้ iPod ครับ ผมแนะนำว่าต้นทางตั้งแต่ iTunes เป็นมาอย่างไรก็ให้มันเป็นไป แล้วเรามาปรับกันที่ iPod กันดีกว่าครับ เพราะง่ายดี และไม่ทำให้ต้นฉบ้บเสียหากไปกับการปรับ EQ ด้วยตัวเราเอง เพราะหากวันหนึ่งในอนาครเราอยากจะฟังเสียงที่ไม่ได้ผ่านการปรุงแต่งแล้วเราจะเสียดาย "ว้า....ด้นปรับ EQ ไปซะและแก้คืนก็ไม่ได้ด้วยเซ็งเลย"

เป็นอย่างไรบ้างครับ เต็มอิ่มมั๊ยครับ กับเรื่องของการปรับ EQ โดยหากให้สรุปอีกทีนะครับ ผมก็ขอเรียนคำเดิมครับว่า "แล้วแต่พี่ครับ" คนเราชอบไม่เหมือนกัน ประสบการณ์ในการฟังเพลงก็ไม่เท่ากัน แนะนำกันแบบฟังธงคงยากครับ แต่ถ้าให้บอกว่า "แล้วแต่พี่" ง่ายมากครับและตรงที่สุด หากมีข้อเสนอแนะประการใดแนะนำติชมเข้ามาได้นะครับ ที่ pik-0001@hotmail.com ยินดีรับคำแนะนำแล้วพร้อมที่จะช่วยเหลือครับ ตอนหน้าสำหรับคนที่นำ iPod ไปทำเป็น office เครื่อนที่ ล้างคอรอไว้ได้เลยครับ (พูดอย่างกันหนังจีนแน่ะ)

PIKMY

No comments: